ค้นหาบล็อกนี้

ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกจะมีดาวที่เหมือนกับโลกประมาณกี่ดวง


กาแลคซี่เรามีดาวฤกษ์อยู่ประมาณ 400,000,000,000 ดวง
จากทฤษฏีกำเนิดระบบสุริยะ 80% หรือมากกว่า ของดาวฤกษ์ควรมีดาวเคราะห์
ดังนั้นมีดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์อยู่ประมาณ 320,000,000,000 ดวง
คาดว่าระบบสุริยะจะมีดาวเคราะห์ตั้งแต่ 5 ดวงขึ้นไป ดังนั้นมีดาวเคราะห์ทั้งหมดเป็น 1,600,000,000,000 ดวง
ครึ่งนึงในนั้นจะเป็นดาวเคราะห์แก๊ส ดังนั้นเหลือดาวเคราะห์หินอยู่ 800,000,000,000 ดวง

จากตรงนี้เป็นการคาดเดา... มีดาวที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยเพียง 10% ของดาวฤกษ์ทั้งหมดเท่านั้น เลยเหลือดาวเคราะห์หินที่อาจมีดาวที่เหมาะๆแค่ 80,000,000,000 ดวง
และโอกาสที่ดาวเคราะห์นั้นจะไปตั้งอยู่ตรงจุดที่เหมาะสมนั้นมีเพียง 0.01% (หนึี่งในหมื่น) เท่าั้นั้น
เหลือ 8,000,000 ดวง
และโอกาสที่ดาวพวกนั้นจะมีสภาพอากาศ ขนาด และโครงสร้างเหมาะสมมีเพียงหนึ่งในร้อย (1%)
เหลือดาวที่ "น่าจะ" เหมือนโลกราวๆ 80,000 ดวงในกาแลคซี่ครับ



แต่ว่า... จริงๆมีอยู่ประเด็นนึงที่น่าสนใจกว่า คือทฤษฎีเอกภพคู่ขนาน หรือโลกคู่ขนานครับ เพราะตามหลักจักรวาลวิทยา
หรือแม้แต่ฟิสิกส์ทั่วไป ก็มีทฤษฎีที่อ้างว่า สสารทุกอย่างในจักรวาลล้วนกำเนิดขึ้นมาพร้อมคู่ของตน นั่นคือ เมื่อมีอนุภาค
ย่อมมีปฏิอนุภาคเกิดมาคู่กันด้วย และทั้งอนุภาคและปฏิอนุภาคจะมีพฤติกรรมเหมือนๆกันเสมอ และเมื่อเกิดการระเบิดครั้งใหญ่
(บิ๊กแบง)ในช่วงกำเนิดจักรวาล เมื่อสสารกลุ่มหนึ่งรวมกันเป็นกาแล็กซี่ของเรา เป็นโลกของเรา วิวัฒนาการมาจนเป็นตัวตนของ
พวกเรา สิ่งที่น่าเหลือเชื่อ (แต่ฟังดูมีเหตุผล) คือ ถ้าเป็นไปตามทฤษฎี ปฏิสสารที่เกิดมาคู่กัน ย่อมไปรวมตัวกันเป็นโลกอีกดวง
และมีวิวัฒนาการที่คัดลอกกันเลย ส่งผลให้เกิดตัวเราอีกคนหนึ่ง ที่โลกคู่ขนานดวงนั้น!